ข่าวประชาสัมพันธ์ เดือนที่ 7

แนวทางการออกแบบและพัฒนาโครงสร้างแบบจำลองด้านการขนส่งและจราจร

ที่ปรึกษาดำเนินการออกแบบพัฒนาโครงสร้างแบบจำลองด้านการขนส่งและจราจรระดับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเป็นการพัฒนาฐานข้อมูลแบบจำลองด้านการจราจรและขนส่งหลัก และเป็นแบบจำลองระดับมหภาค เพื่องานวางแผนระดับยุทธศาสตร์ โดยมีโครงสร้างเป็นแบบจำลองต่อเนื่อง 4 ขั้นตอน ที่เป็นลักษณะ Trip-Based โดยข้อมูลนำเข้าที่จำเป็นต่อการจัดทำแบบจำลองฯ จะประกอบไปด้วย

  • ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจการเดินทางของครัวเรือน (Household Travel Survey : HTS) ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญมากในการจัดทำแบบจำลอง โดยจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลให้อ้างอิงตัวบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างของแบบจำลองที่จะปรับจาก Household Base เป็น Person Base
  • ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจการเลือกรูปแบบการเดินทาง
  • ข้อมูลโครงข่ายคมนาคมทั้งระบบถนนและระบบขนส่งสาธารณะ
  • ข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมในระดับพื้นที่ย่อย (TAZ)
  • ข้อมูลปริมาณการเดินทางของแหล่งเกิดการเดินทางพิเศษ (Special Generator / Commercial Demand)
  • ข้อมูลปริมาณการเดินทางของรถบรรทุกขนส่งสินค้า (Truck Trvel Demand)
  • ข้อมูลปริมารการเดินทางภายนอกพื้นที่ศึกษา (External Matrix)
  • ข้อมูลปริมาณจราจรและปริมาณผู้โดยสาร

โดยที่ข้อมูลดังกล่าวนี้ จึงมีความสำคัญและมีความจำเป็น เนื่องจากมีความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์กันในแต่ละขั้นตอนของการออกแบบและพัฒนาแบบจำลองด้านการขนส่งและจราจรระดับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *